รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์
ผู้อํานวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
Product Champion ให้มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่ายิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี ซึ่งรศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อํานวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เป็นประธาน ในพิธีมอบรางวัล Product Champion ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สทน.กับ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ประกอบด้วย มรภ.สุราษฎร์ธานี มรภ.สงขลา และมรภ.ภูเก็ต ในกิจกรรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น ด้วยการฉายรังสีอาหาร ปี 2565 โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมทั้งหมด 122 ผลิตภัณฑ์ เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย!!.. กับการเฟ้นหาสุดยอดอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ จัดโดย สถาบันเทคโนโลยี เพื่อยกระดับ นิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.
วันนี้ (18 ก.ค.65) สําหรับผลการประกวดในแต่ละจุดดําเนินการ มีดังนี้ จุดดําเนินการที่ 1 มรภ.สุราษฎร์ธานี รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
นายบุญเลิศ ไชยคง ผลิตภัณฑ์ เห็ดแครงแห้ง จ.สุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางวันจุรี สุวรรณรัตน์ ผลิตภัณฑ์ กะปิท่าเคย จ.สุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายจรินทร์ เฉยเชยชม ผลิตภัณฑ์ น้ําพริกปูม้า จ.สุราษฎร์ธานี
จุดดําเนินการที่ 2 มรภ.สงขลา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวพรพิมล รักษาผล ผลิตภัณฑ์ เครื่องแกงไตปลาก้อน(พร้อมปรุง)ตราบ้านบนนบ จ.พัทลุง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางอภิวรรณ์ ดําแสงสวัสดิ์ ผลิตภัณฑ์ผงกล้วยดิบ ยี่ห้อ Thiphuta จ.นครศรีธรรมราช รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางละมัย บุญคง ผลิตภัณฑ์ น้ําพริกสมุนไพรแม่มัย / น้ําพริกปลาอินทรีย์ สูตรสมุนไพร จ.สงขลา
จุดดําเนินการที่ 3 มรภ.ภูเก็ต รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายไพซอล โละหะลู ผลิตภัณฑ์กะโป๊ะสด ปลาทูแท่งกรอบ ตรา Bangko กะโป๊ะ บังโก๊ะ จ.ภูเก็ต รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศันสนีย์ เรืองเกตุ ผลิตภัณฑ์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ปรุงรสต้มยํา กาหยีภูเก็ตน้องโอ จ.ภูเก็ต รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางสาวนิศากร ธรรมประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์น้ําปลาหวานกุ้งแก้ว ตรา ภูเก็จแก้ว
ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศทุกคน จะได้รับเงินรางวัล มูลค่า 10,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล มูลค่า 6,000 บาท และ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล มูลค่า 3,000 บาท พร้อมกับโล่และใบประกาศ จาก สทน.
“เทคโนโลยีการฉายรังสี เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทําให้อาหารพื้นถิ่น หรืออาหารพื้นบ้าน เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ ซึ่งหลังจากนี้ นักวิจัยของสทน.จะเดินหน้าต่อไปยังพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นของไทย มีศักยภาพทางการค้า และเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยต่อไป” ผอ.สทน.กล่าวทิ้งท้าย