กรุงเทพฯ ประเทศไทย – Essilor® ประกาศผลการศึกษาทางคลินิกระยะเวลา 5 ปี เกี่ยวกับประสิทธิภาพของเลนส์ Essilor® Stellest® ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมภาวะการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นและการยืดตัว ของกระบอกตาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 5 ปี ผลการศึกษานี้ได้รับการเปิดเผยในงาน “Essilor® Stellest® 5-Year Milestone Shaping the Future of Myopia Management” ซึ่งรวบรวมจักษุแพทย์ นักทัศนมาตร และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสายตาชั้นนำในประเทศไทย อาทิ พญ. ณัฐธิดา วงศ์วีระวัฒน์ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญทางจักษุวิทยาเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและฝึกอบรมจาก จาก บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จํากัด, คุณแอนเดอลีน หยาง หัวหน้าฝ่ายการแพทย์และวิชาชีพจาก EssilorLuxottica เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลี และญี่ปุ่น และ คุณศุภชัย อาชีวระงับโรค ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จํากัด ที่ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนวัตกรรมล่าสุดของ Essilor® Stellest® ซึ่งมาพร้อมเทคโนโลยี Highly Aspherical Lenslet Target (H.A.L.T.) ที่ช่วยลดอัตราการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยงานนี้ยังได้รับเกียรติจากน้องสายลม และ น้องก้อนเมฆ จากเพจ “เรไรรายวัน” มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้เลนส์ Stellest® ด้วย จากสถิติพบว่า ภาวะสายตาสั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ประชากรกว่า 50% ของโลก จะมีภาวะสายตาสั้น โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราภาวะสายตาสั้นสูงถึง 80–90% สำหรับประเทศไทย แนวโน้มการเกิดสายตาสั้นในเด็กก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน คุณศุภชัย อาชีวระงับโรค ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า ” EssilorLuxottica มีวิสัยทัศน์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเลนส์ เพื่อปกป้องและส่งเสริมสุขภาพดวงตาที่ดี ภารกิจของเราคือการนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาการมองเห็นของผู้คนทั่วโลก และลดความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้น ในเด็ก เราเชื่อมั่นว่าการจัดการภาวะสายตาสั้นตั้งแต่วัยเยาว์เป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพดวงตาที่ยั่งยืนในอนาคต การจัดงานครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับการมองเห็นในระดับโลก พร้อมทั้งกระตุ้น ให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะสายตาสั้นของเด็ก เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพดวงตาในระยะยาว” การศึกษานี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม ควบคุม และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นในปี 2018 ที่ โรงพยาบาลตาแห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์เหวินโจว ประเทศจีน กลุ่มเด็กที่เข้าร่วมการศึกษามีอายุระหว่าง 8-13 ปี เพื่อประเมินประสิทธิภาพในระยะยาว การศึกษานี้ได้รับการขยายระยะเวลา จากเดิม 2 ปี เป็น 3 ปี และต่อเนื่องจนถึงปีที่ 4 และ 5 โดยข้อมูลจากการศึกษาระบุว่า เลนส์ Essilor® Stellest® สามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น ได้เฉลี่ย 1.75D และชะลอการเพิ่มขึ้นของกระบอกตาได้เฉลี่ย 0.72 มม. ตลอดระยะเวลา 5 ปี สำหรับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ถูกคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงประสิทธิภาพของเลนส์ในการชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กในปีที่ 5 ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพในการชะลอภาวะสายตาสั้นและการยืดตัวของกระบอกตายังคงมีอยู่ในกลุ่มเด็กที่มีอายุมากขึ้น (จนถึง 18 ปี) โดยเด็กที่เข้าร่วมการศึกษาจนครบปีที่ 5 มีอายุระหว่าง 13-18 ปี และมีแผนจะศึกษาต่อเนื่องอีก 2 ปี เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเลนส์ในการควบคุมสายตาสั้นในระยะเวลา 7 ปี ผลกระทบของภาวะสายตาสั้นต่อเด็กที่ไม่ควรมองข้าม ภาวะสายตาสั้นที่ไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้ภาวะสายตาสั้นรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพจิตของเด็ก การมองเห็นที่ไม่ชัดอาจนำไปสู่การแยกตัวทางสังคมและปัญหาทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือความหงุดหงิด