สวทช. จับมือ สรพ. พัฒนาการพัฒน เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech)

30 มิ.ย. 2565) ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ร่วมกับ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมความปลอดภัยจากอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาลมาผสมผสานแก้ไขด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาลให้ใช้ประโยชน์ได้จริง

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) พร้อมด้วย ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเป็นประธานและลงนาม และ ดร.บรรจง จำปา รองผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) คุณศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. (BIC) เป็นพยานในครั้งนี้

ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สรพ.และสวทช. ได้มีโครงการที่ร่วมมือกันในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรในโรงพยาบาล หรือ โครงการ 2P Safety Tech โดยเป็นโครงการที่ ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า สามารถพัฒนานวัตกรรมต้นแบบที่แก้ปัญหาในโรงพยาบาล สามารถแก้ปัญหาหลายปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ พบว่ามีนวัตกรรมจำนวนหนึ่งที่จะมีการเตรียมขยายผลไปสู่หน่วยบริการสาธารณสุขอื่น ๆ จากความร่วมมือในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม ได้มีโรงพยาบาลที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 78 โรงพยาบาลจากทั่วประเทศ เกิดต้นแบบนวัตกรรม 40 ต้นแบบ ใช้จริง 22 นวัตกรรม มีการขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ แล้ว 2 นวัตกรรม คือ นวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกับโรงพระบาลระยอง และ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยนวัตกรรม Rapid Response Alert ของ รพ.หาดใหญ่ถูกกระทรวงสาธารณสุข นำไปใช้ในโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จ ของโครงการ 2P Safety Tech ที่สามารถพัฒนา นวัตกรรม ให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อจะมีการนำนวัตกรรมขยายไปใช้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ นั้น สวทช. และ สรพ. ในฐานะผู้ร่วมกันพัฒนาโครงการ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในหลายด้าน มีการหารือและเข้าใจตรงกันว่าการนำเทคโนโลยีใช้ขยายผลอาจจะพบกับ ความท้าทายหลายประเด็น อาทิ การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปัญหาด้านโครงสร้างของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน เป็นต้น จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการลงนามความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในครั้งนี้เพื่อที่จะมีการศึกษารูปแบบการพัฒนานวัตกรรม ทั้งด้านมาตรฐานความปลอดภัยของเทคโนโลยี ที่จะมีผลกระทบเชิงสาธารณสุข เรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และรูปแบบวิธีการนำเทคโนโลยีต้นแบบไปใช้ใน วงกว้างมากขึ้น ภายใต้แนวคิด 2P Safety Scale up รวมถึงการนำงานวิจัยที่ สวทช.มีอยู่มาร่วมกันถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับโรงพยาบาลที่มีความพร้อมรับถ่ายทอดเทคโนโลยี

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ
ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(องค์การมหาชน) (สรพ.)

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) กล่าวว่าสถาบันฯ มีบทบาทภารกิจสําคัญในการประเมินรับรอง ระบบงาน และรับรองคุณภาพสถานพยาบาลของสถานพยาบาล รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาล เพื่อใช้เป็นแนว ทางการประเมินการพัฒนา และการรับรองคุณภาพของ สถานพยาบาล รวมทั้งรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จัดให้มีการ วิจัยและจัดทําข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและ พัฒนาคุณภาพให้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใน ประเทศไทยผ่านการรับรองตามมาตรฐาน HA เพื่อให้ สถานพยาบาลมีมาตรฐานด้านการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มี ความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข และส่งเสริมให้เกิดกลไกในการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีมีคุณภาพและ มาตรฐานความปลอดภัยของสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศ หรือ ต่างประเทศ และภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาและการรับรอง คุณภาพสถานพยาบาล

พญ.ปิยวรรณ กล่าวเพิ่มว่า จากการดำเนินงานตามภารกิจของสถาบันฯ เพื่อให้เกิดระบบบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย สถาบันฯ ได้เข้าร่วมกับองค์การอมัยโลกในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัย ของผู้ป่วย จึงได้นำแนวทางมาเข้ามาขับเคลื่อนในประเทศไทย กำหนดเป็นนโยบายและส่งเสริมการดำเนินสู่การปฏิบัติ โดย กำหนดเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข เป็น Patient and Personnel Safety หรือ 2P Safety ตั้งแต่ปี 2560 มีการ review patient safety goals เป็น Patient and Personnel หรือ 2P Safety Goals 2018 : SIMPLE 2 ประกาศใช้เมื่อปี 2561 ด้วยกลไกการขับเคลื่อนสำคัญภายใต้ แนวคิด “Quality and Safety+ Coverage and Access จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 2P Safety ระดับประเทศ มีการประเมินสถานการณ์ patient Safety ในประเทศไทย มีการพัฒนาระบบ National Reporting and Learning system ซึ่งมีโรงพยาบาลเข้าร่วมเป็นสมาชิก กว่า 855 แห่ง ในการเข้าร่วมเรียนรู้และรายงานอุบัติการณ์ในระบบ

จากการเรียนรู้มีการนำข้อมูลจากอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาลที่เป็นจุด pain point ของโรงพยาบาล ที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงานที่อยากจะพัฒนาเพื่อลด Human error ในการปฏิบัติงาน จึงเป็นที่มา “2P Safety Tech” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานสำคัญของการขับเคลื่อนงานเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข หรือ 2P Safety Hospital ที่ สรพ. และ BIC ได้ร่วมมือกัน ตั้งแต่ปี 2562 – จนถึงปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลา 3 ปี มีนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไม่น้อยกว่า 132 ผลงาน จากแนวคิด Human Factor Engineering เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงตามแนวทาง SIMPLE สรพ.ได้เปิดรับสมัครทีม โรงพยาบาลที่สนใจจากโครงการ 2P Safety Hospital และ คัดเลือกมาเข้าแคมป์อบรมพัฒนานวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากรสาธารณสุข โดยการจับคู่โรงพยาบาลกับนวัตกร Start Up ของ สวทช. เพื่อร่วมกันการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม โดยมี รูปแบบการเคลื่อนงาน ภายใต้ 4C คือ Care : ด้านการดูแลรักษา , Change : นวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลง, Collaboration : สร้างการมีส่วนร่วม, Call for Action : การออกแบบนวัตกรรมที่ กระตุ้นความสนใจ มีผลงานโดดเด่นได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่น แบ่งตามรูปแบบการพัฒนานวัตกรรม ผอ.สรพ. กล่าวทิ้งท้าย

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.