กรุงเทพฯ 15 ธันวาคม 2564 – บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและ การออกแบบตราสัญลักษณ์ ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) ในโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 รวมมูลค่ากว่า 600,000 บาท โดยมีนิสิตและนักศึกษาจาก 70 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวด
สำหรับปีนี้เป็นครั้งแรกที่โครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้ทำการจัดประกวดผลงานเยาวชนในระดับ ปวส. ถึง ปริญญาตรี ภายใต้แนวคิด “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) ซี่งเป็นแนวทางของ ปตท.สผ. ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ PTTEP Teenergy ยังคงมุ่งเน้นให้เยาวชนกล้าคิด กล้าทำ กล้ามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมก้าวสู่การเป็นนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์ และยังปลูกฝังให้เยาวชนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของท้องทะเลไทยอีกด้วย
การประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล “PTTEP Teenergy: Young Ocean for Life Innovation Challenge” ครั้งนี้ มีผู้ส่งผลงาน จำนวน 70 ทีม จาก 31 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และส่งผลงานประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “Ocean for Life Logo Contest” จำนวน 285 ผลงาน จาก 70 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยมีนางสาวบุษบรรณ จีนเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม ปตท.สผ. เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายไพรัตน์ สุทธิพล ผู้อำนวยการกองจัดการชุมชนชายฝั่งและเครือข่าย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ให้เกียรติมาร่วมงานและร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงาน
สำหรับผลตัดสินการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล “PTTEP Teenergy: Young Ocean for Life Innovation Challenge” รางวัลทุนการศึกษารวม 540,000 บาท มีดังนี้
ผู้รับรางวัลหัวข้อ PROTECT
หัวข้อ PROTECT
• รางวัลชนะเลิศ: ผลงาน ทุ่นเก็บขยะระดับผิวน้ำและใต้น้ำ ทีมเกาะเต่า จาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ทุนการศึกษา 100,000 บาท และเงินรางวัลต่อยอดผลงาน 30,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลงาน วัสดุชีวภาพสำหรับดูดซับคราบน้ำมันในทะเล ทีม It’s a cassava ! จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทุนการศึกษา 40,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ผลงาน Oil Stains : Designing oil separation from the ocean by using a skimmer system and oil ทีม Oil Stains จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทุนการศึกษา 10,000 บาท
ผู้รับรางวัลหัวข้อ PRESERVE
หัวข้อ PRESERVE
• รางวัลชนะเลิศ: นวัตกรรม Marinaut ยานผิวน้ำไร้คนขับ เตือนภัยรับแพลงก์ตอนบลูม ทีมนักเดินเรือ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา 100,000 บาท และเงินรางวัลต่อยอดผลงาน 30,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลงาน IMPOT ชุดปลูกต้นโกงกางอัจฉริยะเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างมีระบบ ทีม Green Grove จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา 40,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ผลงาน ธนาคารสัตว์ทะเลระบบอัตโนมัติ ทีมเกาะเสร็จ Oil Stains จาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ทุนการศึกษา 10,000 บาท
ผู้รับรางวัลหัวข้อ PROVIDE
หัวข้อ PROVIDE
• รางวัลชนะเลิศ: ผลงาน The automatic warning of carb molting detection by application ทีม Scraber จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยมหิดล ทุนการศึกษา 100,000 บาท และเงินรางวัลต่อยอดผลงาน 30,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 1: ผลงาน เครื่องกะเทาะเปลือกและคัดแยกขนาดกุ้งแห้งกึ่งอัตโนมัติ ทีมริมทะเล จาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ทุนการศึกษา 40,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 2: ผลงาน ULTRA DISINFECTION ทีม ULTRA จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทุนการศึกษา 10,000 บาท
สำหรับผลการตัดสินการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “Ocean for Life Logo Contest”รางวัลทุนการศึกษารวม 65,000 บาท ได้แก่
• รางวัลชนะเลิศ: นางสาวนารดา กิตติคุโณกรณ์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา 50,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 1: นางสาวตาฬฤทัย มีลาภ และ รางวัล Popular Vote สาขาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย ทุนการศึกษา 10,000 บาท
• รองชนะเลิศอันดับ 2: นางสาวกัณติกา วิชญเมธากุล ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา 5,000 บาท
นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ถอดบทเรียนลมหายใจแห่งท้องทะเล Ocean for Life: Breath of the Sea” ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.สุชาย วรชนะนันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและการท่องเที่ยวทางทะเล ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลไทย