สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ บริษัท ดิจิท โซล จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและโครงการนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อให้บริการแก่ประชาชน หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ
พิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้นในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:30 – 11:30 น. ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมงาน ดังนี้
ฝ่ายสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่
ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่
ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายบริษัท ดิจิท โซล จำกัด
นายธนพล เอี่ยมสกุล ประธานกรรมการบริษัท
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เผยว่า “การลงนามในครั้งนี้ เป็นการลงนามในการร่วมกันวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งสามารถป้องกันและตรวจสอบการปลอมแปลงชุดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน องค์กรและบริษัทต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการตามนโยบายภาครัฐและการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเอกชน และการลงนามร่วมกันในครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทดิจิทโซล เป็นบริษัทที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ในด้านของ Solution ความปลอดภัยและการใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน มากกว่าการพัฒนาด้าน Financial จนได้มาตรฐาน ISO ด้านความปลอดภัยของข้อมูล ด้าน Blockchain โดยเฉพาะ จึงมีความมั่นใจว่าจะพัฒนา Solution ต่างๆ ร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”
นายธนพล เอี่ยมสกุล ประธานกรรมการบริษัทดิจิท โซล จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เน้นไปในเรื่องของความถูกต้องของข้อมูล ความโปร่งใส และการตรวจสอบได้ ซึ่งส่วนใหญ่หลายผู้พัฒนาจะเน้นไปที่ด้านของ Financial กระดานเทรดและคริปโต แต่ทางดิจิทโซล มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการสร้างความปลอดภัยให้ชุดข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ไฟล์ข้อมูล ไฟล์มีเดียต่างๆ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงแก้ไข และตรวจสอบความถูกต้อง รวมไปถึงตรวจสอบผู้ที่นำไปใช้งานได้ ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่ได้นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้แล้วเกิดประสิทธิภาพอย่างมาก
การร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจที่ต้องการเพิ่มเรื่องความปลอดภัยของชุดข้อมูล รวมไปถึงเรื่องการยืนยันความถูกต้องและตรวจสอบการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ Sensitive หรือข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนได้ สำหรับหน่วยงานรัฐ สามารถพัฒนาชุดข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบความโปร่งใส ป้องกันการทำงานภาพลักษณ์ของหน่วยงาน และนำไป Plug-in ร่วมกับระบบต่างๆที่รัฐกับลำพัฒนาเช่น แอพทางรัฐ หรือ Digital Wallet ในอนาคต เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนเองได้อย่างเต็มรูปแบบ”