คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ (Kampee Kampeerayannon)

ประวัติส่วนตัวและครอบครัว
คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ หรือ น.อ.(พิเศษ)คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ เกิดวันที่ 7 มิถุนายน 2514 เป็นบุตรของ พล.อ.อ.ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ กับ คุณสุธีรา คัมภีรญาณนนท์(ญ.) สกุลเดิม “ธรรมพิทักษ์” เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” มีพี่น้องรวม 3 คน เป็นบุตรชายคนโต โดยมีน้องชายชื่อ “คุณศักย์ศรณ์ คัมภีรญาณนนท์” และน้องสาวชื่อ “คุณธริชยา คัมภีรญาณนนท์”
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่นที่ 14
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่ รุ่นที่ 28
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท รุ่นที่ 49 (สอบม.4เทียบม.6)
ศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 28 และนักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 35
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต วิศวกรรมไฟฟ้า เกียรตินิยม อันดับ 2 โรงเรียนนายเรืออากาศ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ(International Political Economy) จาก Claremont Graduate University สหรัฐอเมริกา
สำเร็จการศึกษาวิชาการบิน จากโรงเรียนการบิน สอบได้เป็นอันดับที่ 1 ภาคอากาศ เลือกทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ก่อนเปลี่ยนเป็น F-16
จบหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 16 (ปปร.16)
บทบาทและหน้าที่ด้านต่างๆ
บทบาทและหน้าที่ทางด้านการทหาร
• หัวหน้านักเรียนนายเรืออากาศ
• นักบินขับไล่เครื่องบินแบบ F-5 ประจำการ ณ กองบิน 23 อุดรธานี
• นักบินขับไล่เครื่องบินแบบ F-11 ประจำการ ณ กองบิน 1 นครราชสีมา
• นายทหารคนสนิทของพล.อ.พัฒน์ อัคนิบุตร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
• นายทหารอากาศไทยคนแรกที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติ การฝึกคอบร้าโกลด์ 08
• นายทหารฝ่ายเสนาธิการของพล.อ.รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร
• นายทหารคนสนิทของ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวงกลาโหม
• ตุลาการศาลทหาร
• ผู้ทรงคุณวุฒิ คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

บทบาทและหน้าที่ทางด้านการเมือง
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม
และระหว่างรับราชการทหารได้เข้ารับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องการเมือง ดังนี้
• ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา
• ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา
• ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยเห็นชอบแนวทางการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ที่นำอำนาจให้แก่ประชาชน
เดือนธันวาคม พ.ศ.2559 ลาออกจากราชการ และเข้าร่วมกิจกรรมและแสดงทัศนะทางการเมืองต่างๆ ได้แก่
23 ต.ค. 2559 เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายสมาน ศรีงาม เป็นเลขาธิการพรรคฯ วัตถุประสงค์ของพรรคฯเพื่อถ่ายโอนอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมาสู่ประชาชนผ่านทางสภาประชาชน
29 ต.ค. 2559 เป็นตัวแทนนายสมาน ศรีงาม ในฐานะเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย เข้าร่วมเป็นผู้แทนแถลงนโยบายมุ่งชูประชาชนทุกสีแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พร้อมกับให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และคงความเป็นธรรมแก่พี่น้องผู้นับถือศาสนาอื่น พร้อมแก้ไขปัญกาต่างๆ ให้ประชาชน รวมถึงยกย่องพี่น้องผู้เสียชีวิตทางการเมือง และต่อยอดนโยบายที่ดีของรัฐบาล
25 พ.ย. 2559 รับฟังปัญหาที่ดินชาวบ้านโกรกมะเขือ พร้อมกล่าวว่า “กฎหมายเขียนขึ้นโดยคน สามารถลบและแก้ไขได้เสมอ”
25 ธ.ค. 2559 ทำบุญพร้อมยกย่องนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นนักคิดแนวทางประชาธิปไตย และได้นำแนวคิดที่ดีของนายประเสริฐมาประยุกต์ต่อยอดกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
17 เม.ย. 2560 ในฐานะหัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย ตั้งเวทีการชุมนุมเรียกร้องจัดตั้งสภาปวงชนชาวไทย(สภาประชาชน)
26 เม.ย. 2560 ในฐานะเลขาพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทยร่วมกับกลุ่มทหารผ่านศึกและพิการ เรียกร้องสิทธิ์และสวัสดิการของกำลังพลทหารทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมและขอให้รัฐบาลช่วยเหลือดูแลกำลังพลก่อยการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
24 มิ.ย. 2560 ในฐานะเลขาธิการและรักษาการหัวหน้าพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทยพร้อม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เสนอตัวเป็นก๊กที่ 3 ไม่ใช่ทหารหรือนักการเมือง แต่เป็นก๊กของประชาชนเพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์วิกฤติบ้านเมือง
25 ธ.ค. 2561 ในฐานะหัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเลขาธิการพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย จัดทำบุญครบรอบ 24 ปีการเสียชีวิตของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร พร้อมแถลงสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2562 และประกาศเตรียมพร้อมนำประชาชนทุกฝ่ายเข้าแก้ไขวิกฤติการเมืองของประเทศ
ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2563 เปลี่ยนบทบาทการทำงานอยู่เหนือการเมือง โดยมุ่งเน้นช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและสนับสนุนกิจกรรมทุกเรื่องที่ทำให้เกิดความรู้รักสามัคคี เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และผลักดันประเทศให้เข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ด้วยความปรองดองและสันติ
บทบาทและหน้าที่ทางด้านการศาสนา

30 พ.ค.2539 อุปสมบทในธรรมยุติกนิกาย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์
29 พ.ย. 2559 เรีนยกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ทบทวนกระบวนการพอพากษาตัดสิน โดยต้องปฏิรูปทั้งในข้อกฎหมาย ระเบียบและแนวทางของมหาเถรสมาคม จนถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อเชิดชูพระภิกษุสงฆ์
28 ธ.ค. 2559 ยื่นทูลเกล้าถวายฎีกาผ่านเลขานุการในพระองค์ฯ เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอพระบารมีปกเกล้าฯ แก้ไขวิกฤติพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้น พร้อมวิงวอนขอให้รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติและหน่วยงานราชการทุกภาคส่วนยุติการดำเนินการทุกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธศาสนาเป็นการชั่วคราว
20 ก.พ. 2560 ออกมาขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยกเลิก ม.44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการใช้กำลังทำหารตำรวจปิดล้อมวัดพระธรรมกาย
4 มิ.ย. 2561 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระภิกษุสงฆ์ตกเป็นเป้าโจมตีและถูกกล่าวหาได้ง่ายเพราะไม่มีกระบวนการปกป้องพระภิกษุสงฆ์ผู้บริสุทธิ์
25 ธ.ค. 2561 ออกแถลงว่า ถ้าสถานการณ์บ้านเมืองเกิดวิกฤติความขัดแย้งขึ้นไม่ว่าภายหลังการเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้ง พร้อมนำประชาชนทุกฝ่ายปฏิวัติเข้าแก้ไขปัญหาประเทศเพื่อยุติวงจรอุบาทว์ทางการเมือง ซึ่งจะยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้ส่งเสริม สนับสนุน และอุทิศทรัพย์สินถวายเพื่อทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ดังนี้
1.จัดบรรพชาและอุปสมบทศาสนทายาทเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เช่น โครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 และ 2
2.จัดสร้างพระพุทธรูปและพระประธาน ถวายเป็นพระพุทธบูชา เช่น พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร จำนวน 69 องค์ ณ ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร, พระพุทธมหาชัยมงคล ณ วัดสระจระเข้ นครราชสีมา
3.จัดสร้างเสนาสนะ อาคาร และกุฏิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนในพุทธสถานทั่วประเทศ เช่น ศูนย์ปฏิบัติธรรมและพัฒนาคนดีศรีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่, วัดพระธาตุดอยผาขาว จังหวัดเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดพิษณุโลก, วัดขอนหาด จังหวัดนครศรีธรรมราช และสนับสนุนกิจการสถานีโทรทัศน์ธรรมาธิปไตยเพื่อประชาชน(DDTV)
บทบาทและหน้าที่ทางด้านการถวายงานฯ
ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลหลายวาระ เช่น
งาน “10 ศิลปินไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในหลวงรัชกาลที่ 10” ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
โครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ และครั้งที่ 2 ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่
งาน “มหากรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เทิดไท้องค์ราชันฎ ณ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
งานไถ่ชีวิตโค-กระบือ ถวายเป็นพระราชกุศล ณ บ้านท่าลาด จังหวัดสุรินทร์
งานส่งมอบโค-กระบือ ให้กับเกษตรกร ถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดป่าสตึกพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ และพุทธอุทยานอาณาจักรหลวงปู่ทวด(เขาใหญ่) นครราชสีมา
13 ต.ค. 2563 เป็นผู้แทนท่านชายวัชรเรศร วิวัชรวงศ์(ท่านอ้น) เป็นองค์ประธานตั้งองค์กฐินและปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เพื่อสร้างสันติภาพสู่สันติสุขทั่วประเทศระหว่างวันที่ 13-18 ต.ค. 2563 เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ สำนักปฏิบัติธรรมพุทธพัฒนา จังหวัดสระแก้ว

25 ต.ค. 2563 เป็นประธานทอดกฐินพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดกลางมิ่งเมือง พระอารามหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นเจ้าภาพทอดกฐินตกค้าง 69 วัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล
14 พ.ย. 2563 จัดประกวดภาพวาด “My Best Mom แม่ที่ดีที่สุดในอุดมคติของฉัน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
บทบาทและหน้าที่ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
ในปี พ.ศ. 2559 ระหว่างดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดโครงการเยาวชนต้นแบบอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อให้เยาวชนรู้สึกภาคภูมิใจความเป็นชาติและปลุกกระแสค่านิยมไทยสู่คนรุ่ยใหม่ลดปัญกาใช้โซเชียลมีเดียไม่เหมาะสม

สนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น งานนิทรรศการภาพศิลป์” 10 ศิลปินไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในหลวงรัชกาลที่ 10”, งาน “มหกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เทิดไท้องค์ราชัน”, และขบวนแห่ลูกแก้ว ช้าง ม้าแบบล้านนา ในโครงการอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 2 ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่
สนับสนุนผลงานและการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติและศิลปินแนวหน้าของเมืองไทย เช่น งานศิลป์แผ่นดินไทย ณ หอศิลป์อาร์ตบางกอกเซ็นเตอร์ สี่พระยา
สนับสนุนการจัดทำมิวสิควีดีโอ ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเยาวชน เช่น ซีรีส์ “มั่ง-มี-ศรี-ศพ”, ซีรีส์ “BROTHERS รักนะน้องชาย รักนายครับผม”
บทบาทและหน้าที่ทางด้านสาธารณประโยชน์

แจกจ่ายอุปกรณ์ด้านการแพทย์และระดมทุนร่วมกับมิตรประเทศเพื่อก่อสร้างโรงานผลิตหน้ากากอนามัยขนาดใหญ่เพื่อถวายสถาบันฯ ช่วยรัฐบาล และพี่น้องประชาชนคนไทยจำนวน 69 ล้านคน ให้สามารถมีอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจทุกวัน หากระบาดทั่วของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในประเทศไทยบานปลายยากต่อการควบคุม

ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส นำส่งของที่จำเป็นมอบให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมถึงนำอุปกรณ์กีฬามอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่พร้อมรับฟังปัญหาความต้องการของชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องของอา

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.