วช. จับมือ 4​ หน่วยงาน​ ลงนาม MOU ดัน มันสำปะหลัง​ สู่ตลาดโลก​ พร้อมมอบ​ นวัตกรรม​สุดล้ำ​ รถ​เกษตร​สูบน้ำพลังงาน​แสงอาทิตย์​

วันที่​ 17 มิถุนายน 2565  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม​ ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ​ 4​ หน่วยงาน​ โดยมี​ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง​ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​  นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัด​เลย​ รองศาสตราจารย์​ สมเจตน์​ ดวงพิทักษ์​ อธิการบดีมหาวิทยา​ลัยราชภัฏ​เลย​ ​ นาย​เฉลิม​ภพ​ แก่นจัน​ กรรมการบริหาร​บริษัท​ศรีตรัง​ แอโกรอินดัสทรี​ จำกัด​ (มหาชน)​ และ​ นายจามิกร ขจรเฉลิมศักดิ์​ บริษัท​ จ.เจริญ​มาเก็ตติ้ง​ จำกัด​ ​ ตามหลักนโยบาย​ “การขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดเลย” ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดเลย โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เปรมชัย มูลหล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย​

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง​
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง​ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​ กล่าวว่า​ วช.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการดำเนินการ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของจังหวัดเลย​ ในการดำเนินโครงการวิจัยการพัฒนาตลาดดิจิทัลเพื่อยกระดับสินค้าและบริการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเลย และโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดเลยโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ โดยมุ่งหวังที่จะการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ ถือเป็นการตอบโจทย์ท้าทายของสังคมโดยเป็นการเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำการผลิตสินค้าและบริการได้พัฒนาและยกระดับสินค้าของชุมชนให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ​มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งของการตลาดดิจิทัล​ เป็นสื่อกลางในการประสานความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการและความสามารถในการผลิตสินค้า​ สิ่งแวดล้อม​ สังคมของชุมชน เป้าหมายปลายทางในการสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดเลย โดยพัฒนาคุณภาพพันธุ์มันสำปะหลัง การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากมันสำปะหลัง ตามแนวคิด BCG Model ทั้งนี้ วช. ได้มุ่งเน้นให้เกิดการขับเคลื่อนโดยการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง​มีการต่อยอดขยายผลเพื่อผลักดันงานวิจัย และนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่น ๆ นำมาสู่พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการดำเนินงานอันนำมา​สู่​ผลสำเร็จในอนาคตอย่างยั่งยื​นต่อไป

นายชัยธวัช เนียมศิริ
ผู้ว่าราชการจังหวัด​เลย​

นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัด​เลย​ กล่าวว่า การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและแปรรูปมันสำปะหลัง เพิ่มมูลค่าใบมันสำปะหลังเพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์สู่การขับเคลื่อนงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เปรมชัย มูลหล้า กล่าวว่า โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดเลย การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดเลยโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้วยระบบฐานข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลการปลูกไปใช้ในการเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้นและนำไปสู่การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกษตรกรและผู้ประกอบการได้ นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ในการเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น และการจัดการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าวที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การวิจัย และนวัตกรรมของชาติ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ทั้งนี้ทางคณะทีมผู้บริหาร​ ผู้ทรงคุณวุฒิ​ พร้อมด้วยสื่อมวลชน​ลงพื้นที่​ ณ​ อบต.จอมศรี​ อ.​เชียงคาน​ จ.เลย เพื่อตรวจเยี่ยมผลสำเร็จ​และส่งมอบรถเกษตรสูบน้ำพลังงาน​แสงอาทิตย์​ให้กับกลุ่มเกษตรกร​เพื่อการใช้งานในพื้นที่​ โดยมี​ นายอภินันท์​ สุวรรณโค​ นายอำเภอ​เชียงคาน​ กล่าวรายงาน​และให้การต้อนรับ​ จากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ชุมชนเข้มแข็ง​ สร้างรายได้​ เกิดการพัฒนา​ อย่างยั่งยืนต่อไป​

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published.