ปทุมธานี พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ชวนเที่ยวงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียงสานต่องานแม่ วันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2565

สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี เตรียมจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “สานต่องานแม่” ระหว่างวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2565 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ภายในงานมีการจัดนิทรรศการองค์ความรู้ทางด้านเกษตร การอบรมวิชาของแผ่นดินจากเกษตรกร ผู้ปฏิบัติจริง รวมถึงการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล
ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “…การจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2565 พร้อมเปิดอบรมวิชาของแผ่นดิน และการอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างอาชีพ สร้างรายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย”

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งทรงเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงพรรณไม้ดอกไม้ ที่ใกล้สูญพันธ์ไว้จำนวนมาก อาทิ กล้วยไม้แคทลียา ควีนสิริกิติ์ ดอนญ่าควีนสิริกิติ์ ดุสิตา ทิพเกสร สัตตบงกช ซึ่งเป็นพรรณไม้ในพระนามาภิไธย พรรณไม้พระราชทานนาม และดอกไม้ทรงโปรดของสมเด็จพระพันปีหลวงโดยมีการจัดแสดงเป็นนิทรรศการและองค์ความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ศึกษา เรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์พรรณไม้มงคลและทรงคุณค่านี้สืบต่อไป

ชมนิทรรศการ “จากเส้นด้าย สู่ลายผ้า”ผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) ที่ถ่ายทอดหัตถกรรมโบราณจากเส้นด้ายผ่านกี่ทอ ร้อยเรียงเป็นลายผ้าถ่ายทอดอัตลักษณ์ของท้องถิ่น มรดกอันล้ำค่าของชนชาวไทยด้วยมรดกงานฝีมืออันลือเลื่องสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้ทรงส่งเสริมกลุ่มสตรีได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ด้วยงานหัตถกรรมที่ถนัด อันเป็นการส่งต่อ ภูมิปัญญาที่สืบสานมาในวัฒนธรรมเกษตรไทยให้สืบไป

เปิดหลักสูตรอบรมฟรี สร้างอาชีพ ผ่านวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกับเกษตรกรตัวจริงเสียงจริงที่มาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร อาทิ หลักสูตรสุขภาพดี ด้วยอาหารพรีไบโอติก โดย อาจารย์กานต์สินี อภิวัฒน์ศิริ และ อาจารย์ไชยวัฒน์ ชาญจรัสพงศ์ (ราชภูมิ ฟาร์ม) จ.ราชบุรี หลักสูตรเพาะเห็ดแบบผสมผสาน พร้อมเคล็ดลับการเปิดดอกเห็ด โดยอาจารย์จีระนันทน์ พุ่มเรือง (ฟาร์มเห็ดยายฉิม) เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครนายก หลักสูตรเกษตรผสมผสาน บนแผ่นดินของแม่ อาจารย์พัฒน์พงษ์ มงคลกาญจนกิจ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.กาญจนบุรี หลักสูตรสบู่ล้างหน้า จากเห็ดเยื่อไผ่ โดยอาจารย์อริยาภรณ์ เลิศพัฒนกิจกุล กรุงเทพฯ ในรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Online สามารถรับชมพร้อมกันทั่วประเทศ โดยถ่ายทอดสดผ่านทาง Youtube live ช่อง พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

อีกหนึ่งกิจกรรมที่พลาดไม่ได้ในเดือนนี้ แจกฟรี กล้าพันธุ์ “ต้นหม่อน” 3 สายพันธุ์ยอดนิยมจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จ.สระบุรี ต้นหม่อนถือเป็นอาหาร ของหนอนไหม จุดกำเนิดเส้นใยแห่งความรัก ความเมตตาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย สู่การสร้างอาชีพ สานต่อวัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็น อัตลักษณ์ พร้อมชิมเมนูเรียกน้ำนม อาทิ หัวปลีชุปแป้งทอด ยำหัวปลีรสแชบ แกงเลียงผักรวม

พลาดไม่ได้กับกิจกรรมพิเศษ ในเดือนแห่งความรักนี้ร่วมประดิษฐ์ดอกไม้แทนใจมอบให้แม่ เป็นของขวัญสุดพิเศษ เป็นสื่อกลางแทนหัวใจ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรม “เพาะ แจก แลก เปลี่ยน” นำภาชนะเหลือใช้มาเพาะกล้าไม้กลับไปดูแลต่อที่บ้าน โดยไม้เด่นประจำเดือนนี้คือต้นสาคูไทย นั่นเอง

ชม ช้อป สินค้าผลผลิตเกษตรปลอดภัยที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ ผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล อาหารพื้นบ้าน สินค้าท้องถิ่นมากด้วยคุณภาพจากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ทั่วประเทศ ในราคามิตรภาพ

ควงแม่เที่ยว แชะภาพกับมุมโปรดคู่ใจ!! ในโซนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด Wisdom Farm แวะจิบกาแฟ เพิ่มความสดชื่นท่ามกลางธรรมชาติบนสะพานไม้ไผ่กลางแปลงนาที่ปรับโฉมใหม่ ไฉไลกว่าเคย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

You May Also Like

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *